ตัวเบ็ดนี่เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆของการตกปลาเลยก็ว่าได้ เกือบทุกวิธีของการตกปลาต้องมีตัวเบ็ดเป็นอุปกรณ์หลักส่วนหนึ่ง ดังนั้นผมจึงอยากแนะนำให้พวกเราได้รู้จักกับตัวเบ็ดไว้บ้าง
ตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์รู้จักคิดค้นนำเอากระดูกสัตว์หรือเขาสัตว์มาทำเป็นตัวเบ็ด ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าแม้ว่าจะผ่านยุคสมัยมาเท่าไหร่ องค์ประกอบของตัวเบ็ดมีความเปลี่ยนแปลงน้อยมาก จะมีที่เปลี่ยนไปบ้างก็ได้แก่รูปทรง วัสดุ และกรรมวิธีการสร้างทำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นไปเพื่อการใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับปลาที่เราต้องการจะตก
กายวิภาคของตัวเบ็ดแยกส่วนออกมาง่ายๆเป็น 6 ส่วนดังต่อไปนี้
- ตาเบ็ด หรือบางทีก็เรียก ตูดเบ็ด โดยมากมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ แบบตูดห่วง กับแบบตูดแบน
- ก้านเบ็ด มีขนาดยาว-สั้นแตกต่างกันไปตามแต่การใช้งาน ก้านยาวอำนาจทะลุทะลวงต่ำ แต่ป้องกันคมเขี้ยวของปลาได้ระดับหนึ่ง
- ความกว้างของตัวเบ็ด มีลักษณะแตกต่างไปตามแต่วัตถุประสงค์การใช้ ยิ่งกว้างมากความสามารถในการทะลุทะลวงจะลดต่ำลง แต่ลดโอกาสฉีกขาดของแผลได้ดีกว่า
- คมเบ็ด หรือเกสรเบ็ด ยิ่งบางยิ่งคมอำนาจทะลุทะลวงยิ่งสูง แต่ความแข็งแรงก็จะต่ำลง โดยเฉพาะเมื่อแทงโดนส่วนแข็งเช่นกระดูกส่วนปาก มีเบ็ดบางแบบถูกออกแบบมาให้เกสรเบ็ดเบี่ยงออกจากก้านเบ็ด เพื่อเพิ่มโอกาสแทงทะลุให้กับคมเบ็ด
- เงี่ยงเบ็ด มีเพื่อป้องกันการถอยหลุดของตัวเบ็ด แต่เงี่ยงเบ็ดนี้หากกว้างมาก อำนาจการทะลุทะลวงก็จะต่ำลง และเพื่อการปลดปลาปล่อยที่ง่ายขึ้น จึงได้มีการผลิตตัวเบ็ดแบบไม่มีเงี่ยงขึ้น ซึ่งตัวเบ็ดประเภทนี้ นักตกปลาเพียงรักษาความตึงของสายได้ตลอดช่วงการสู้ปลา เรื่องปัญหาก่อถอยหลุดของตัวเบ็ดก็จะลดลงไปได้มาก
- ท้องเบ็ด เป็นจุดคล้องปลา จะทำงานทันทีที่เกสรเบ็ดได้แทงทะลุผ่านแล้ว บางแบบอาจมีการทับแบนเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของตัวเบ็ด
ประเภทของตัวเบ็ดอย่างคร่าวๆ
เบ็ดแบบตัวเจ เบ็ดแบบนี้มีรูปทรงคล้ายอักษรเจในภาษาอังกฤษ เป็นเบ็ดที่พบเห็นได้ทั่วไป แยกย่อยออกเป็นก้านสั้น-ก้านยาว, ตูดห่วง-ตูดแบน, หน้าบิด-หน้าไม่บิด, หลังมีเงี่ยง ฯลฯ แทบจะเรียกได้ว่ามีแบบให้เลือกใช้มากที่สุดในตลาด
เบ็ดท้องกว้าง เบ็ดแบบนี้มีลักษณะการใช้งานเกือบจะเฉพาะด้าน เช่น เบ็ดตกกุ้ง แต่โดยประสบการณ์ผม ผมเคยนำไปใช้เกี่ยวกุ้งเป็นตกปลาม้าในแม่น้ำบางปะกงอยู่เหมือนกัน
เบ็ดเซอร์เคิ่ล เบ็ดแบบนี้มีคุณสมบัติพิเศษตรงที่เป็นเบ็ดที่ไม่ตวัดแล้วปลาจะติด แต่หากตวัดสวนปลาจะไม่ติดเบ็ด จึงเหมาะกับการใช้ตกปลาน้ำลึก สายเบ็ดหย่อนท้องช้างยากแก่การตวัดเบ็ด ลักษณะการใช้งานคือเมื่อปลาลากสายแล้ว ให้โหนคันรั้งสายให้ตึง แค่นั้นปลาก็จะติดเบ็ดแล้ว โดยมากเบ็ดแบบนี้มักจะเข้าฝังที่ขอบปาก (อันนี้ พี่ติ่ง แสมสาร บอกมา)
เบ็ดสองทาง, เบ็ดสามทาง เบ็ดแบบนี้โดยมากถูกออกแบบมาให้ใช้กับเหยื่อปลอม เพื่อเพิ่มโอกาสการติดเบ็ดของปลา มีบางครั้งที่เรานำไปใช้กับเหยื่อไม่ปลอมบ้าง เช่นใช้กับเหยื่อสด หรือเหยื่อเป็น
แต่ข้อจำกัดของเบ็ดพวกนี้คือ เมื่อมีโอกาสติดปลามาก โอกาสติดสวะหรือสาหร่ายก็มากเช่นเดียวกัน นักตกปลาจึงมีการคิดค้นทำการ์ดกันสวะกันมาหลากหลายรูปแบบ หากมีโอกาสจะนำวิธีการทำการ์ดเหล่านี้มาเสนอให้พวกเราได้รู้กัน
เบ็ดเกี่ยวเหยื่อหนอนยาง เบ็ดแบบนี้ที่ก้านจะมีแนวหยักพิเศษ เพื่อให้ส่วนนี้เป็นตัวกั้นไม่ให้เหยื่อหนอนยางไหลรูดลงไปกองที่ท้องเบ็ด
เบ็ดท้องกว้าง เบ็ดแบบนี้มีลักษณะการใช้งานเกือบจะเฉพาะด้าน เช่น เบ็ดตกกุ้ง แต่โดยประสบการณ์ผม ผมเคยนำไปใช้เกี่ยวกุ้งเป็นตกปลาม้าในแม่น้ำบางปะกงอยู่เหมือนกัน
เบ็ดเซอร์เคิ่ล เบ็ดแบบนี้มีคุณสมบัติพิเศษตรงที่เป็นเบ็ดที่ไม่ตวัดแล้วปลาจะติด แต่หากตวัดสวนปลาจะไม่ติดเบ็ด จึงเหมาะกับการใช้ตกปลาน้ำลึก สายเบ็ดหย่อนท้องช้างยากแก่การตวัดเบ็ด ลักษณะการใช้งานคือเมื่อปลาลากสายแล้ว ให้โหนคันรั้งสายให้ตึง แค่นั้นปลาก็จะติดเบ็ดแล้ว โดยมากเบ็ดแบบนี้มักจะเข้าฝังที่ขอบปาก (อันนี้ พี่ติ่ง แสมสาร บอกมา)
เบ็ดสองทาง, เบ็ดสามทาง เบ็ดแบบนี้โดยมากถูกออกแบบมาให้ใช้กับเหยื่อปลอม เพื่อเพิ่มโอกาสการติดเบ็ดของปลา มีบางครั้งที่เรานำไปใช้กับเหยื่อไม่ปลอมบ้าง เช่นใช้กับเหยื่อสด หรือเหยื่อเป็น
แต่ข้อจำกัดของเบ็ดพวกนี้คือ เมื่อมีโอกาสติดปลามาก โอกาสติดสวะหรือสาหร่ายก็มากเช่นเดียวกัน นักตกปลาจึงมีการคิดค้นทำการ์ดกันสวะกันมาหลากหลายรูปแบบ หากมีโอกาสจะนำวิธีการทำการ์ดเหล่านี้มาเสนอให้พวกเราได้รู้กัน
เบ็ดเกี่ยวเหยื่อหนอนยาง เบ็ดแบบนี้ที่ก้านจะมีแนวหยักพิเศษ เพื่อให้ส่วนนี้เป็นตัวกั้นไม่ให้เหยื่อหนอนยางไหลรูดลงไปกองที่ท้องเบ็ด
นอกจากนี้ หลักการเลือกใช้ตัวเบ็ด นักตกปลาควรพิจารณาความทนต่อสนิม แน่นอนว่าเบ็ดที่ทำจากแสตนเลสย่อมทนต่อสนิมได้ดีกว่าเบ็ดที่ทำจากเหล็ก แต่เบ็ดที่ทำจากเหล็กมีความคมสูงกว่าเบ็ดที่ทำจากแสตนเลส และเบ็ดที่ทำจากเหล็กที่ผ่านกรรมวิธีชุบที่ดี ก็สามารถทนต่อสนิมได้ดีในระดับหนึ่งเช่นกัน
กรรมวิธีการชุบแข็งตัวเบ็ด วัสดุแต่ละอย่างมีขั้นตอนการสำเร็จชิ้นงานที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นกรรมวิธีการเสริมความแข็งโดยการทับแบนในเบ็ดแสตนเลส หรือจะเป็นการชุบแข็งเสริมธาตุคาร์บอนในเบ็ดไฮ-คาร์บอน ทั้งหลายทั้งปวงนี้ก็เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ให้ตัวเบ็ดนั้นมีความแข็งแรงพอที่จะต้านแรงที่เกิดขึ้นในระหว่างการตกปลา
ตัวเบ็ดยี่ห้อที่ดีจึงควรมีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของตัวเบ็ดที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้เพื่อเป็นความมั่นใจให้กับนักตกปลาว่าตัวเบ็ดที่กำลังใช้อยู่ตอนนี้จะไม่เหยียดง้างเมื่อเจอกับเกมส์หนัก หรือไม่แกร่งเกินจนหักเมื่อต้องทนกับแรงเครียดในเกมส์ยาวๆ
ฃอให้ตวัดเบ็ดติดปลาทุกครั้งที่ปลากิน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น