วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มารู้จักเหยื่อสี Chartreuse (ชาร์ทรูส) ในมุมมองของโปรญี่ปุ่น (2)

       ต่อไปโปรเซกิวะยังให้ความเห็นไว้อีกว่า สีชาร์ทรูสอย่างเดียวนั้นทำหน้าที่เพียงให้ปลาเหยื่อรับรู้ถึงการมีตัวตนของเหยื่อเท่านั้น ถ้าจะให้ได้ผลดีๆจะต้องบวกเหยื่อตัวนั้นควรจะมีสีที่เร้าอารมณ์ให้ปลาล่าเหยื่อรู้สึกอยากกัดด้วย
       เป็นต้นว่า ในน้ำใสควรใช้เหยื่อสีชาร์ทรูสตัวที่บวกกับสีธรรมชาติ และในน้ำขุ่นควรใช้เหยื่อสีชาร์ทรูสตัวที่บวกกับสีสรรที่สว่างๆ สำหรับโปรเซกิวะเอง ได้จัดลำดับเหยื่อสีชาร์ทรูสที่บวกกับสีต่างๆไว้ เหยื่อแถวบนของภาพเป็นลำดับของเหยื่อที่เหมาะสมใช้ในสภาพน้ำใส และแถวล่างของแผนภาพเป็นลำดับของเหยื่อที่เหมาะสมใช้ในสภาพน้ำขุ่น โดยไล่ลำดับสีที่เร้าอารมณ์ปลาล่าเหยื่อในระดับธรรมดาจากท้ายลูกศรไปหาสีที่เร้าอารมณ์ปลาล่าเหยื่อในระดับสูงที่หัวลูกศร


       นอกจากสภาพของน้ำจะเป็นตัวชี้ว่าควรจะเลือกใช้เหยื่อสีชาร์ทรูสที่บวกกับสีไหนแล้ว ฤดูกาลก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เค้าจะให้ความสำคัญของสีที่มาบวก เช่น ที่ตัวบนสุดของแผนภาพนี้ ก็เป็นเหยื่อไม้ตายของโปรเซกิวะในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ส่วนตัวกลางนี้ ก็จะเป็นเหยื่อตัวที่เขาเลือกที่จะใช้ก่อนในช่วงต้นฤดูร้อน และตัวล่างสุด เหยื่อที่มีท้องเป็นสีขาว นี่เป็นตัวที่เค้าจะเลือกใช้ทุกทีที่เจอสภาพน้ำขุ่นนิดๆ





       ท้ายสุดนี้ โปรเซกิวะยังพบว่า สีที่ให้ผลใกล้เคียงกับสีชาร์ทรูสก็คือสีขาว ดังนั้นในวันที่เหยื่อสีชาร์ทรูสไม่ได้ผล เหยื่อตัวต่อไปที่เขาจะเริ่มไล่ใช้ก็คือเหยื่อสีขาว และก็จะใช้ในเงื่อนไขเดียวกันกับเหยื่อสีชาร์ทรูส

ฃอให้ตกปลาด้วยความสนุกสนาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น