คุณสมบัติของคันเบ็ด โดยทั่วไปนักตกปลาจะดูคุณสมบัติของคันเบ็ดในด้านต่างๆเช่น น้ำหนักของคันเบ็ด, ความแข็ง-อ่อน, แรงดีด-แรงงัด, ความไวในการส่งผ่านแรงสั่นสะเทือน, แล้วก็ความทนทานของคันเบ็ด ซึ่งคุณสมบัติทั้งหลายเหล่านี้ล้วนขึ้นอยู่กับปัจจัยจาก
1. วัสดุหลักที่ใช้ทำคันเบ็ด
2. อุปกรณ์ประกอบต่างๆที่อยู่บนคันเบ็ด
3. มิติของคันเบ็ด
จากแค่ 3 ส่วนนี้ ก็เพียงพอต่อการบ่งชี้ว่าคันเบ็ดใดมีคุณสมบัติอย่างไร
1.วัสดุที่นำมาทำคันเบ็ด ในปัจจุบันวัสดุที่ใช้ทำคันเบ็ดถูกคัดสรรปรุงแต่งสังเคราะห์ขึ้นมาอย่างมากมาย ซึ่งก่อให้เกิดคันเบ็ดที่มีคุณสมบัติที่ตรงต่อความต้องการของนักตกปลาและตลาด จึงขอยกตัวอย่างโดยสังเขปดังต่อไปนี้
ไม้ไผ่ ไม้ไผ่แม้นักตกปลาในบ้านเราจะไม่ค่อยคุ้นเคยกันนักก็ตาม แต่สำหรับนักตกปลาในต่างประเทศ คันไม้ไผ่ก็ยังถือว่าเป็นคันเบ็ดที่มีนักตกปลาบางกลุ่มที่นิยมความคลาสสิคเล่นกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกตกด้วยชุดฟลาย
คันไม้ไผ่ เป็นคันที่มีความขลังในตัว เป็นดนตรีก็เทียบกับฟังเพลงจากวงซิมโฟนี ออร์เคสตร้า เต็มวง
แต่ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของคันไม้ไผ่ก็คือ ต้องการการดูแลอยู่พอสมควร การจัดเก็บก็ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่รุนแรงมาก เช่น ไม่ปะทะกับแสงแดดโดยตรง ไม่ชื้นจนเกินไป แล้วต้องไม่วางพิงกับผนังไว้นานๆอย่างเด็ดขาด เพราะคันเบ็ดจะโค้งงอตามแนวที่วางพิง
ไฟเบอร์ กลาส เมื่อช่วงการพัฒนาการทางเคมีภัณฑ์และความสำเร็จในการพัฒนาวัสดุสังเคราะห์เป็นไปด้วยดี ในช่วงนี้ผู้พัฒนาคันเบ็ดก็ได้รู้จักกับวัสดุใหม่ที่มีคุณสมบัติที่เสถียรกว่าวัสดุธรรมชาติ แรงดีดแรงงัดก็มีความสม่ำเสมอในทุกๆชิ้นในสายการผลิต
คันไฟเบอร์ กลาส ถือเป็นคันที่มีประสิทธิภาพรอบด้านในยุคสมัยนั้น แต่เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน คันไฟเบอร์ กลาส กลับมีข้อจำกัดตรงที่มีน้ำหนักมาก ความไวในการส่งผ่านแรงสั่นสะเทือนค่อนข้างน้อย แต่ด้วยความเหนียวทนทานของไฟเบอร์ กลาส ก็ทำให้เหมาะกับงานสำหรับตกปลาด้วยเหยื่อปลอมขนาดเล็กๆ เช่น ปลาเทร้า ซึ่งสำหรับผม ผมมักจะใช้คันไฟเบอร์ กลาสสำหรับงานสายเล็ก พวก 3-4 ปอนด์สำหรับตกปลากล็ดด้วยทุ่นชิงหลิว (หรือบางทีก็เอาไปตกปลากะพงบ่อเหมือนกัน)
กราไฟท์ ยุคต่อมาการพัฒนาการด้านเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ดีขึ้น สามารถประสานกราไฟท์ให้ได้เป็นเส้นใย และนำมาทอเป็นผืน แล้วนำมาม้วนรอบแกนแล้วประสานด้วยกาวให้อยู่ตัว คันกราไฟท์ก็ถือกำเนิดขึ้น
ข้อดีของวัสดุกราไฟท์คือเบา และมีแรงดีดดี และเมื่อนักประดิษฐ์ได้ลองถักทอแผ่นกราไฟท์ด้วยโครงสร้างที่ต่างกันก็เกิดคุณสมบัติของคันเบ็ดที่แตกต่างออกไป แต่ข้อจำกัดของกราไฟท์ก็คือ เป็นวัสดุที่เปราะบาง และเป็นสื่อไฟฟ้า เคยมีกรณีฟ้าผ่าลงคันเบ็ดมาแล้วหลายหน และในที่สุดก็ได้มีการผสมข้ามวัสดุกันระหว่างกราไฟท์ กับไฟเบอร์กลาส ก็ทำให้ได้วัสดุทำคันที่สนองต่อการตลาดมากขึ้น
คาร์บอนไฟเบอร์ และเมื่อสามารถนำธาตุกราไฟท์มาถักทอเป็นแผ่นผืนได้ หลังจากนั้นก็ไ้ด้มีการศึกษานำเอาวัตถุธาตุอื่นๆมาทอประสานกัน คาร์บอน ก็เป็นอีกหนึ่งวัตถุธาตุที่ได้รับการพัฒนามาจนเป็นคันเบ็ด เช่นเดียวกันกับวัตถุธาตุอื่นๆ เช่น โบรอน เป็นต้น
ข้อดีของ วัตุธาตุพิเศษเหล่านี้คือ นักประดิษฐ์ได้คัดสรรนำธาตุที่มีความแกร่งและหยืดหยุ่นสูงมาประกอบ อีกทั้งยังมีความเบาเป็นพิเศษ แต่ข้อจำกัดของวัสดุใหม่ๆเหล่านี้คือ ราคาที่สูง เพราะวัสดุเหล่านี้ ยังมีการศึกษาพัฒนาคุณสมบัติอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่เหมาะสมกว่า
2. อุปกรณ์ประกอบต่างๆที่อยู่บนคันเบ็ด นอกจากปัจจัยด้านวัสดุและโครงสร้างการประสานของวัสดุที่นำมาสร้างเป็นคันเบ็ดแล้ว อุปกรณ์ประกอบต่างๆบนคันเบ็ด ก็ล้วนแต่ส่งผลต่อคุณสมบัติของคันเบ็ดทั้งสิ้น เช่น
รีลซีท หรือที่เรียกว่าตัวยึดขารอก ความสำคัญของรีลซีทนี่แทบจะเป็นตัวกำหนดประเภทของคันนั้นๆ ว่าจะเป็นคันสำหรับ สปินนิ่ง, คาสติ้ง, ทรอลลิ่ง ฯลฯ
วัสดุที่ใช้ทำรีลซีทก็มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นไม้ก๊อก อลูมิเนียม พลาสติก แต่ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ดูเหมือนจะเป็นรีลซีทที่ทำจากกราไฟท์ เนื่องจากมีความทนทานและง่ายต่อการดูแลรักษา อีกทั้งยังมีรูปทรงที่หลากหลายไว้สนองต่อความต้องการอีกด้วย
ไกด์ หรือว่าห่วงนำสายเบ็ด นี่ก็เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณสมบัติของคันเบ็ดเป็นอย่างมาก นอกจากไกด์จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าไกด์แบบใดเมื่อติดตั้งไปบนคันใดแล้ว คันเบ็ดนั้นก็เหมาะสมจะใช้กับอุปกรณ์ประเภทใด ดีไซน์ของไกด์ก็ยังมีส่วนต่อประสิทธิภาพของคันเบ็ดนั้นๆอีกด้วย
วงแหวนส่วนที่สัมผัสกับสายเบ็ดก็มีความสำคัญเช่นกัน วัสดุที่ใช้ทำวงแหวนต้องเหมาะต่อสายเบ็ดที่จะใช้งานด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็คงต้องยกให้ ซิลิคอน คาร์ไบด์ ว่าเหมาะสมต่อสายเบ็ดเกือบทุกประเภท
ตำแหน่งของไกด์แต่ละตัว มีความสำคัญต่อการส่งถ่ายพลังของคันอย่างถึงที่สุดด้วย
เพราะฉะนั้น ประเภทของไกด์ที่เหมาะสม วางบนตำแหน่งที่เหมาะสม แม้แต่คันที่ทำจากวัสดุธรรมดาๆก็กลายเป็นสุดยอดคันเบ็ดได้
การวางไกด์อย่างสไปรอน ว่ากันว่าจะช่วยให้คันแสดงประสิธิภาพสูงสุด |
นอกจากมิติที่มองเปรียบเทียบได้ด้วยสายเปล่าอย่างที่กล่าวไปแล้ว แอคชั่นของคันก็ถือเป็นอีกหนึ่งมิติที่นักตกปลาจะต้องนำมาประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้คันเบ็ดหนึ่งๆด้วย
คันที่มีแอคชั่นแข็ง ก็เหมาะต่อการส่งเหยื่อที่มีน้ำหนักมากกว่า แต่ก็จะส่งผ่านการรับรู้แรงสั่นสะเทือนด้อยกว่าคันที่มีแอคชั่นอ่อน
อนึ่ง แรงดีดแรงงัดของคัน ก็เป็นอีกหนึ่งมิติที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นแต่ก็สำคัญไม่แพ้กันเช่นกัน
คันที่มีพาวเวอร์สูงๆ ก็เหมาะที่จะใช้กับสายที่มีความทนแรงดึงสูงๆ แต่ก้ไม่เหมาะกับสายที่มีแรงยืดตัวต่ำๆ(ในกรณีนี้แก้ด้วยการใช้ช็อค ลีดเดอร์)
ส่วนคันที่มีพาวเวอร์ไม่มาก ก็เหมาะกับสายที่มีความทนแรงดึงน้อยๆ เพราะคันจะเป็นตัวซับแรงกระชากได้ดี
ด้วย 3 องค์ประกอบนี้ ก็น่าจะช่วยให้นักตกปลาตัดสินใจเลือกคันเบ็ดที่เหมาะสมกับงานแต่เหมาะสมต่อตัวเองได้ไม่ยาก
ฃอให้เจอคันเบ็ดที่ถูกใจนะครับ....
เเล้วควรใช้เชือกอะไรอะคะ
ตอบลบ