วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

การเลือกใช้กล่องอุปกรณ์




       อารมณ์ศิลปินเข้าจู่โจม ทำให้ไม่ได้เขียนบล็อกไปหนึ่งวัน แล้ววันนี้ก็ทำถ้าจะเบี้ยวเสียอีก แต่ก็ไม่เป็นไร ไปค้นหาบทความเก่าๆจากเวบสยามฟิชชิ่งคลับมาแก้ขัดให้ก่อน เดี๋ยวพอได้เกร็ดดีๆจะเอาของใหม่ๆมาขยายความให้อีก


       มีคำพูดอยู่ว่า
"นักตกปลาที่มีความพร้อมสูง เขามักจะมีความหลากหลายของอุปกรณ์มากกว่าร้านขายอุปกรณ์ย่อมๆร้านนึง แต่ถึงจะมีความหลากหลายแค่ไหนก็ตาม เมื่อถึงสถานะการณ์ใช้งานจริง เขาผู้นั้นมักพอใจใช้ชุดปลายสายแค่ชุดเดียวและชุดนั้นมักจะเป็น ชุดเดิม"
       การไปตกปลาแต่ละครั้ง ความพร้อมของอุปกรณ์อื่นๆที่นอกเหนือไปจากคัน รอก และสายเบ็ดแล้ว ก็นับว่ามีความสำคัญอยู่ไม่น้อยและอุปกรณ์ช่วยตัวหนึ่ง ที่จะทำหน้าที่รวบรวมและทำให้เราได้พกพาอุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้นไปมาได้สะดวกก็คือ กล่องใส่อุปกรณ์ตกปลา นักตกปลาสามารถตระเตรียมของเผื่อใช้ทั้งหลายใส่ไว้ในกล่องอุปกรณ์ แต่หลักการเลือกกล่องอุปกรณ์นั้น นักตกปลาควรต้องคำนึงถึงความสามารถเหล่านี้ด้วย

       กล่องอุปกรณ์ที่มีความจุมาก เมื่อใส่ของมากก็จะทำให้มีน้ำหนักมาก ไม่สะดวกต่อการพกพาแบบหิ้วไปไหนไปกัน แต่กล่องที่มีความจุน้อย ก็แน่นอนว่า จะมีความสามารถในการนำพาของเผื่อทั้งหลายไปได้น้อยชิ้น โดยส่วนตัวผม ผมมักจะเอากล่้องอุปกรณ์ไปสองขนาด คือ กล่องที่มีความจุมาก จะไว้สำหรับนำพาอุปกรณ์ไปตั้งไว้เป็นสถานี แล้วมีกล่องอุปกรณ์ใบเล็กกว่าไว้สำหรับแบ่งของมาจากกล่องอุปกรณ์หลักแล้วพกพาติดตัวไปในภาคสนาม

       ในการเลือกสรรเหยื่อที่ไว้สำหรับการพกพาไปภาคสนาม ผมก็จะคัดเหยื่อโดยเน้นที่ความหลากหลาย เช่น มีทั้งเหยื่อผิวน้ำ เหยื่อดำน้ำ ลึก ตื้น จมเร็ว จมช้า ให้มีความหลากหลายครอบคลุม และอาจมีตัวเบ็ดสำรองไว้จำนวนหนึ่ง

       การเลือกรูปแบบของกล่องอุปกรณ์ตกปลาก็มีความสำคัญเหมือนกัน กล่องบางชนิดถูกออกแบบให้มีการป้องกันการลืมล็อคฝา ก็เป็นการมั่นใจได้ว่าเหยื่อปลอมของเราคงจะไม่เทกระจาดระหว่างการพกพาไปไหนต่อไหนเป็นแน่ กล่องอุปกรณ์บางตัว ก็ถูกออกแบบให้สามารถเปิดฝาได้แม้ในที่ที่มีความคับแคบ(เช่นพื้นที่ซอกมุมต่างๆบนเรือ) ก็จะทำให้เราสามารถหยิบใช้ได้ง่ายแม้ในพื้นที่คับขัน กล่องอุปกรณ์บางชนิดก็ออกแบบมาให้เราสามารถเห็นของที่จุภายในนั้นได้ก็เพื่อลดเวลาการตัดสินใจเลือกเหยื่อนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น