วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การบำรุงรักษารอกตกปลา (4)

       ในบทนี้ หลังจากที่เราถอดประกอบรอกแสนรักของเราเป็นแล้ว เราก็จะเห็นจุดนี้อยากทำจุดนั้นอยากเปลี่ยน ตรงนี้ตรงนั้นน่าจะทำให้ดีขึ้นกว่านี้ได้ หรือถ้าใส่ไอ้นี้เข้าไปแล้วมันจะดูสวยขึ้น ทั้งหลายเหล่านี้เราเรียกว่า การปรับปรุงประสิทธิภาพ เพิ่มสมรรถภาพการทำงาน หรือภาษาฝรั่งเรียกว่า จูนนิ่ง (Tuning) ซึ่งในการปรับแต่งนี้ ก็จะมีวิธีใหญ่ๆ 3 วิธี คือ
       วิธีแรก เปลี่ยนให้ดีขึ้น ง่ายมากครับ ซื้อชิ้นใหม่ที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่ามาเปลี่ยนแทนที่ของเดิม ซึ่งก็เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์หลักๆ 2 อย่าง คือ เพิ่มสมรรถนะของรอก กับเพื่อความสวยงาม ที่เรียกว่า ถึงจะยังตกไม่ได้ปลาแต่ก็เท่ห์ไว้ก่อน เช่น เปลี่ยนจากบุ๊ชไปเป็นลูกปืนตลับ เปลี่ยนจากลูกปืนธรรมดา ไปใช้ลูกปืนกันสนิม หรือเปลี่ยนจากมือหมุนเดิมที่หนัก ไปใช้มือหมุนคาร์บอนเคฟล่าที่เบากว่า ส่วนในเรื่องของความสวยงามนี้ ก็ต้องว่ากันไปตามรสนิยมแหละครับ

เพิ่มคำอธิบายภาพ
       วิธีต่อไป ขัดให้ลื่น อันนี้ วิธีนี้ ถือเป็นงานขั้นละเอียดครับ การขัดลื่นนี่คือจุดไหนที่ชิ้นส่วนมีการสัมผัสกัน และมีการเคลื่อนไหว หรือในจุดที่เราหล่อลื่นด้วยน้ำมันในตอนล้างรอก จุดนันแหละที่จะทำการขัดลื่น การขัดลื่นนี่ จะทำกันด้วยกระดาษทรายเบอร์ละเอียด หรือใช้กากเพชรจุ่มสำลีขัดตามซอกตามรู ข้อสำคัญของวิธีการนี้ คือต้องไม่ขัดเพลินจนเกินไป เพราะจะทำให้การขัดลื่นกลายเป็นการขัดหลวมไป



       วิธีสุดท้ายที่จะบอกเล่าที่ตรงนี้ คือ เจาะให้เบา วิธีนี้ต้องใช้เทคนิคเชิงช่างอย่างมาก ต้องมีความรู้ในการใช้เครื่องมือ และเครื่องมือนั้นต้องมีความแม่นยำสูง การเจาะให้เบานี้ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากคือ วัตถุเมื่อถูกตัดเจาะก็ย่อมจะสูญเสียความแข็งแรงลงไป ดังนั้นการเจาะต้องเจาะในทิศทางที่ไม่มีแรงอื่นๆกระทำ







       แต่ท้ายสุด หากเราอยากได้รอกที่แต่งมาแล้ว ก็มีรอกที่แต่งเสร็จมาจากสำนักแต่งดังๆหลายสำนัก เช่นที่รู้จักกันดีก็มี Ito Engineering ค่าย Megabass เป็นต้น
       เอาเท่านี้ก่อนนะครับ สำหรับการบำรุงรักษารอกตกปลา รวมถึงการปรุงแต่งรอกให้มีสมรรถนะสูงขึ้นและสวยงามขึ้นด้วย
ฃอให้มีความสุขกับการตกปลา

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การบำรุงรักษารอกตกปลา (3)

       *ข้อมูลต่อไปนี้ เป็นวิธีการที่ต้องใช้ทักษะเชิงช่างระดับหนึ่ง หากไม่มั่นใจ ไม่ควรทำเอง



       ต่อไป มาดูกันที่การล้างรอก เบท คาสติ้ง หรือ รอกขวาง กันบ้าง ในคราวนี้จะนำเอารอก EMILEY รุ่น EM-300 มาเป็นตัวอย่างเพื่อเป็นแนวทาง





       เมื่อคลายสกรูยึดส่วนประกอบกับเฟรมออกจากฝาทั้ง 2 ข้าง จะได้ส่วนประกอบแยกออกเป็นส่วนใหญ่ๆได้ 4 ส่วน คือ ฝาข้างมือหมุน, เฟรม, สปูล, ฝาด้านตรงข้ามมือหมุน




       เลือกทำความสะอาดในส่วนของเฟรมก่อน คลายเกลียวฝาครอบแกนหางปลาพาตัวเกลี่ยสาย ออกแล้วเขย่าเบาๆให้แกนหางปลาโผล่ออกมา (ระวังหล่นหาย) แล้วใช้คีมดึงออก
       ใช้ไขควงแบนดันเอาแหวนเกือกม้าล็อคแกนเฟืองสะพานตัวเกลี่ยสายออก



       ดึงเอาเฟืองสะพานตัวเกลี่ยออก ดันท่อครอบเฟืองสะพานออกด้านตรงข้าม เอาตัวเกลี่ยสายออก แล้วเขี่ยเอาบุ๊ชรองแกนตัวเกลี่ยที่อยู่ติดกับเฟรมด้านตรงข้ามมือหมุนออก ทำความสะอาดด้วยน้ำมันไฟแช็ค ผึ่งแห้ง แล้วประกอบกลับเข้าตามเดิม





       ส่วนฝาด้านตรงข้ามมือหมุน คลายน็อตยึดชุดรับแกนสปูลออก





       ถอนลูกปืนหล่อลื่นแกนสปูลออกจากชุดรับแกนสปูล ถอดแยกชิ้นชุดรับแกนสปูลออกจากฝา คลายเกลียวปุ่มปรับหน่วงออกช้าๆ(ระวังสปริงกระเด็นหาย) ทำความสะอาดด้วยน้ำมันไฟแช็ค ผึ่งแห้ง แล้วประกอบกลับเข้าตามเดิม





       ในส่วนของฝาด้านมือหมุน เริ่มต้นจากการถอดมือหมุนออกก่อน ถอดสกรูล็อคแผ่นกันคลายตัวยึดมือหมุนออก แล้วใช้ประแจเบอร์ 10 คลายเกลียวตัวยึดมือหมุน




       ใช้ไขควงดันแหวนเกือกม้าล็อคหัวแกนมือหมุนออก ถอดสปริงแผ่นรองใต้มือหมุน คลายเกลียวกงล้อปรับแดรกออกจากแกน ถอดแหวนสปริงออก





       คลายสกรูยึดฝาห้องเฟืองออก เปิดฝาห้องขับ จะเห็นเฟืองกับชุดยกฟรีสปูลอยู่บนแผ่นเซ็ทติ้งเพลท






       ถอดลูกปืนกันกลับออกจากฝา ล้างด้วยน้ำมันไฟแช็คผึ่งแห้ง แล้วประกอบกลับตามเดิม




       ถอนสปริงกดชุดยกฟรีสปูลออกทั้ง 2 ข้าง ดึงคานยกเฟืองพาสปูลขึ้น แยกเฟืองออกจากคาน แล้วดึงแกนมือหมุนขึ้นจากหลักบนเซ็ทเพลทออก




       แยกส่วนประกอบแกนมือหมุนออก มี ตัวเตะชุดยกฟรีสปูล เฟืองขับตัวเกลี่ยสาย แหวนสปริงดันแดรกล่าง จานกดแดรกล่าง แผ่นเบรกล่าง เฟืองขับ แผ่นเบรกบน จานกดแดรกบน แหวนสปริงดันแดรกบน นำชิ้นส่วนล้างน้ำมันไฟแช็ค ผึ่งแห้ง แล้วประกอบกลับ



       ในส่วนของสปูลเราแค่เช็ดแกนสปูลให้สะอาด
       การหล่อลื่น ยังคงใช้หลักการเดิม คือใช้จารบีในจุดสัมผัสที่มีแรงกด เช่น เฟือง และใช้น้ำมันใจจุดที่มีการเคลื่อนไหว เช่น แกนมือหมุนกับหลักบนเซ็ทเพลท เป็นต้น ข้อสำคัญเราต้องไม่ใส่สารหล่อลื่นนี้มากจนเกินไป เพราะสารหล่อลื่นจะกลายเป็นตัวเก็บเอาเม็ดฝุ่นลงไปบดกับเนื้อชิ้นส่วนเกิดเป็นความเสียหายได้
       นำชิ้นส่วนทั้ง 4 ประกอบกลับเข้าด้วยกัน ยึดสกรูฝาให้พอตึงมือ เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการล้างรอกเบทฯ



*ย้ำอีกครั้ง หากไม่มั่นใจ อย่าทำเอง

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การบำรุงรักษารอกตกปลา (2)

       นักตกปลาที่เอาใจใส่กับความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ตกปลาควรมีการตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์ตกปลาแบบจริงๆจังๆอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับโอกาสใช้งาน เช่นใช้มากก็ควรมีการตรวจดูที่ถี่ขึ้น และรอกตกปลา ก็เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่มีกลไกขับเคลื่อน และต้องการการหล่อลื่นตามอายุใช้งานเช่นเดียวกันกับเครื่องไม้เครื่องมือที่มีกลไกอื่นๆ
       *ข้อมูลต่อไปนี้ เป็นวิธีการที่ต้องใช้ทักษะเชิงช่างระดับหนึ่ง หากไม่มั่นใจ ไม่ควรทำเอง
       การทำความสะอาดกลไกภายในรอก และการหล่อลื่น ภาษาทั่วไปมักจะเรียกว่า การ “ล้างรอก” ในที่นี้ ก็จะแนะนำพื้นฐานวิธีล้างรอก 2 ชนิด ที่เป็นที่นิยมสูงสุด ซึ่งก็คือ รอกสปินนิ่ง และรอกเบท คาสติ้ง

       ในบทนี้ขอนำเอารอกสปินนิ่งของ Daiwa รุ่น SWEEPFIRE 1000B มาเป็นตัวอย่าง เพื่อเป็นแนวทางเทียบเคียงการล้างรอกสปินนิ่งรุ่นอื่นๆต่อไป
       ก่อนอื่น การล้างรอกแบบรื้อออกมาแล้วประกอบใหม่นี้ ในกรณีของรอกสปินนิ่ง ชุดชิ้นส่วนที่แยกออกมาได้ในเบื้องต้น จะมี 3 ส่วน คือ สปูล, ชุดแขนกว้านสาย, และตัวเรือนที่มีห้องเฟือง เราจะเริ่มต้นในจุดที่มีกลไกมากที่สุดของรอกก่อนคือ ตัวเรือนห้องเฟือง



       การจะเปิดห้องเฟืองของรอกสปินนิ่ง เราต้องถอดแขนหมุน ก่อน โดยการคลายเกลียวล็อคแขนหมุนออก แล้วถอดแขนออก





       แล้วแยกสปูลออกจากตัวบอดี้คลายเกลียวปรับแดรกออกจนสุด แล้วดึงสปูลออกตรงๆ






       จากนั้น ถอนเฟืองกรีดเสียง ที่อยู่ใต้สปูลออก แล้วคลายสกรูยึดชุดแขนกว้านสาย (ที่ลูกศรชี้)





       เมื่อแยกแขนกว้านสายออกจากตัวเรือน เราจะเห็นลูกปืนแกนแขนกว้านสาย ให้คลายสกรูยึดลูกปืน และสกรูยึดตัวกันกลับ ให้ปลดสปริง(ที่ลูกศรชี้)ออกจากร่องล็อคก่อน






       ขยับชุดแขนกั้นกันกลับออก ระวังสปริงกระเด็นหาย แล้วดึงชุดแกนแขนกว้านสายออกพร้อมลูกปืน





       คลายสกรูยึดกรอบท้ายรอก






       คลายสกรูยึดห้องเฟืองทั้ง 3 ตัวออก






       ใช้คีมดึงเอาสปริงรูปตัววีดันคานโยกกันถอยออกจากร่อง (ที่ลูกศรชี้) แล้วถอนแกนผลักขากันถอยออกจากด้านหน้าของรอก ชิ้นส่วนทั้งหมดก็จะแยกออกจากกัน






       ใช้ปลายเข็ม ถ่างแหวนสปริงรูป 6 เหลี่ยม แล้วถอดออกจากแกนมือหมุน(ที่ลูกศรชี้)




       ดึงเฟืองขับที่ติดกับแกนมือหมุนขึ้น ถอนแกนคันชักสปูลออก แล้วก็ดึงเฟืองเลื่อนคันชักแกนสปูลออก เท่านี้ก็จะแยกชิ้นส่วนภายในห้องเฟืองออกได้ทั้งหมด






       แยกชิ้นส่วนที่เป็นโลหะออกมา ล้างด้วยน้ำมันไฟแช็ค ใช้แปรงหรือพู่กันปัดคราบสารหล่อลื่นเดิมออกให้หมด





       นำชิ้นส่วนเหล่านั้นมาผึ่งแห้ง







       เอาชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติก ไปล้างด้วยน้ำยาล้างจาน ใช้แปรงสีฟันเก่า หรือพู่กันปัดคราบสารหล่อลื่นเดิมออกให้หมด





       เช็ดชิ้นส่วนเหล่านั้นเช็ดหมาดแล้วผึ่งแห้ง






       สารหล่อลื่นที่นำมาใช้ก็มีจารบี และน้ำมัน





       ใช้พู่กัน ป้ายจารบีลงในจุดที่มีการสัมผัสกันของชิ้นส่วน เช่นเฟืองต่างๆ ให้ระวังการทาจารบีปริมาณมากเกินความจำเป็น
       หลักการทาจารบีคือ ใช้พู่กัน ป้่ายจารบีเข้าตามร่องเฟือง แล้วปาดจารบีส่วนเกินออก



       หยอดน้ำมัน ลงในจุดสัมผัสที่ไร้แรงอัดเช่น แกนชักของสปูลกับรูแกนหมุนโรเตอร์
       เช่นเดียวกันกับจารบี คือ ให้หยอดน้ำมันแต่พอชุ่มพื้นผิวจุดสัมผัส อย่าให้แฉะจนเกินไป



      
       ส่วนหลักการประกอบรอก ให้ทำย้อนขั้นตอนการถอด หากสงสัยลำดับของชิ้นส่วน ให้ดูคู่มือแผนผังชิ้นส่วนที่แนบมา


       ในชุดแขนกว้านสายอย่าลืม ทำความสะอาดชุดล้อผ่านสาย และหล่อลื่นด้วยจารบีบางๆที่แกนในของล้อผ่านสายด้วย






       และท้ายสุด ในส่วนของสปูล ที่กลางสปูลจะมีห้องแดรก ให้งัดแหวนสปริงรูป 6 เหลี่ยมออก แล้วถอดแผ่นแดรกออกมาทำความสะอาด



       ทาจารบีบางๆที่แผ่นโลหะ และหยอดน้ำมันนิดหน่อยที่แผ่นอโลหะ ประกอบกลับเข้าห้องแดรก ขันมือบิดปรับแดรกเข้าให้พอตึงมือ เท่านี้ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนการล้างรอก





       อนึ่ง รอกแต่ละรุ่น ต่างมีรายละเอียดปลีกย่อย จุดล็อค จุดหล่อลื่น แตกต่างกันไปตามแต่ผู้ออกแบบให้มีความซับซ้อนหรือเรียบง่าย เพื่อสมรรถนะของตัวรอกนั้นๆ ข้อสำคัญของการถอดล้างรอก ต้องจำไว้เสมอว่า อย่างัดหรืออย่าฝืนหากติดขัดในขั้นตอนใดๆ ที่ถอดไม่ได้หรือใส่ไม่เข้านั้น อาจเป็นเพราะเราข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไป จึงทำให้เกิดการถอดไม่ออกเช่นนั้น

*ขอย้ำอีกครั้งว่า หากไม่มั่นใจ อย่าทำ

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การบำรุงรักษารอกตกปลา (1)

       สำหรับในบทนี้ จะขอแนะนำวิธีการบำรุงรักษารอกตามที่คุณ YoMmY ขอผ่านทางหน้ากระดานของ www.fishingthailand.com ซึ่งก็ขอขอบคุณคุณ YoMmY ณ.ที่นี้ด้วย ที่ให้ความสนใจแนะนำหัวข้อมา
       ในเรื่องการบำรุงรักษารอกตกปลานั้น เราสามารถแยกการบำรุงรักษาออกเป็น 3 ระดับ คือ
       1. การทำความสะอาดหลังจากการใช้ (Cleaning)
       2. การถอดประกอบเพื่อทำความสะอาดและหล่อลื่นกลไกภายใน (Reassembly)
       3. การปรับปรุงประสิทธิภาพ เพิ่มสมรรถภาพการทำงาน (tuning)
       ในการทำความสะอาดหลังจากใช้งาน โดยปกติหลังการใช้งานรอกตกปลาทุกครั้ง เราควรทำความสะอาดอุปกรณ์ตกปลาทุกครั้ง เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นให้ยาวนาน และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานสำหรับการตกปลาในคราวต่อไป
       จุดที่ควรดูแลรักษาเบื้องต้นหลังจากการใช้งาน คือ

       สภาพภายนอก สะอาดดีหรือไม่หากพบเห็นจุดที่มีฝุ่นเกาะ หรือคราบสกปรก แนะนำให้ใช้ผ้าชุบน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจานเจือจาง อุ่นๆเช็ดออก แล้วก็เช็ดด้วยผ้าแห้งอีกสักครั้งก็เพียงพอ จำไว้ว่า ไม่ควรใช้น้ำฉีด และไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาใดๆที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เพราะอาจจะทำลายสภาพผิวของอุปกรณ์ตกปลาแสนรักของเราได้




       ชิ้นส่วนที่หมุนและเคลื่อนที่ได้ เช่น แขนหมุน, สปูล, ปุ่มบิดปรับแดรก, ล้อผ่านสาย(สปินนิ่ง) ในจุดที่หมุนได้ เคลื่อนไหวได้ ต่างๆเหล่านี้ ตรวจตรวจสอบดูว่ายังทำงานได้อย่างคล่องแคล่วหรือไม่ มีอาการสะดุด ฝืด ฝืนหรือไม่ หยอดน้ำมันหล่อลื่นเล็กน้อยตรงจุดสัมผัสส่วนหมุน ตรวจดูการทำงานของแดรก(เบรก)เรียบเนียน มีน้ำหนักสม่ำเสมอหรือไม่ หากพบเห็นอาการผิดปกติ ก็ต้องดูในการบำรุงรักษาข้อต่อไป


       ตรวจสอบความแน่นหนาของน๊อตและจุดย้ำต่างๆ ดูด้วยสายตาและสัมผัส ว่าน๊อตเหล่านี้คลายตัวหรือไม่ หากพบเห็นอาการหลวมคลายให้ใช้ไขควงขันกวดแค่พอตึงมือ ในจุดย้ำเช่น ขารอก (เบทฯบางรุ่น ให้ลองใช้นิ้วตรวจความโยกคลอน หากพบเห็นความโยกคลอน ก็ต้องทำการย้ำให้แน่น




     พรุ่งนี้มาต่อกันเรื่องการถอดประกอบเพื่อทำความสะอาดและหล่อลื่นกลไกภายใน

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ใส่กระดูกให้กับเหยื่อยาง

       หลังจากที่รู้จักประเภทต่างๆของริกไปแล้ว ในบทนี้ก็จะขอเสนอเทคนิคพลิกแพลงของบรรดาโปรญี่ปุ่นที่ใช้กับเหยื่อยางอีกครั้ง ในกรณีที่เล็งในหมายที่ใต้แพแหน หรือใต้ร่มไม้เรี่ยน้ำ กรณีนี้พวกเขาจะใช้เหยื่อในตระกูลแบ็กสไลด์ครับ เหยื่อพวกนี้เมื่อเข้าริกแบบเวทเลสแล้ว เมื่อตีเหยื่อเข้าชายแหนเหยื่อจะจมตัวแบบสไลด์ลงไป(ไม่ลงในแนวดิ่ง)
       ฮาตะทากุมะ โปรสำนัก โอเรทะจิ แนะนำเคล็ดลับง่ายๆเกี่ยวกับเหยื่อตระกูลแบ็กสไลด์ (เหยื่อถอยหลัง) ไว้ว่า เพื่อที่จะให้เหยื่อแบ็กสไลด์ ว่ายเข้าไปได้ไกลกว่า เค้าจะใช้คลิ๊ปหนีบกระดาษ มาตัดเอาเฉพาะส่วนโค้งที่เป็นตัวยู ดัดให้งอเล็กน้อย แล้วเสียบเข้ากับที่ท้ายเหยื่อ เสียบลงไปให้จม เท่านี้เหยื่อแบ็กสไลด์ของเราก็จะสไลด์เลื้อยเข้าไปได้ไกลกว่าแล้ว
       อ่อ! แล้วเพื่อการสไลด์ที่ดีกว่า สายที่ใช้หากมีขนาดเล็กเท่าไหร่ ก็สไลด์ได้ดีขึ้น


 อุปกรณ์ที่ใช้ก็มีเพียงแต่
1. เหยื่อยางตระกูลแบ็กสไลด์
2. ตัวเบ็ดอ๊อฟเซ็ท
3. คลิ๊ปหนีบกระดาษธรรมดาๆ
        ตัดคลิ๊ปหนีบกระดาษ แล้วดัดงอเหมือนกับในรูป
       เสียบเข้าไปที่ท้ายเหยื่อดังรูป แล้วกดให้จมลงไปจนยันกับโค้งตัวยู เท่านี้เป็นอันเรียบร้อย
       แล้วเราก็จะได้เหยื่อที่มีมุมสไลด์ที่แตกต่างออกไป เหมือนกับในภาพ เส้นโค้งด้านล่างเป็นเหยื่อแบ็กสไลด์ที่ไม่ใส่เสียบคลิ๊ป ส่วนเส้นโค้งและเส้นหยักด้านบนเป็นเหยื่อแบ็กสไลด์ที่เสียบคลิ๊ปแล้ว







ฃอให้สนุกกับจินตนาการเพื่อการตกปลา...

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เลือกเหยื่อปลอมจากเหยื่อจริง

       รื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของนักตกปลาที่ดีคือ เราจะต้องเป็นนักสังเกตสภาพแวดล้อม และข้อสังเกตหนึ่งที่นักตกปลาควรวางไว้เป็นหัวข้อหลักที่ต้องเลยก็คือ ปลาที่นี่กินเหยื่ออะไร? เพื่อที่เราจะได้เลือกใช้เหยื่อให้ถูกกับอาหารของปลาที่เราต้องการจะตก
       และแน่นอนว่าข้อนี้ก็ไม่ถือเป็นข้อยกเว้นสำหรับนักตกปลาเหยื่อปลอม อย่างในบ้านเราฤดูกาลอาจจะไม่แตกแต่งมากนัก แต่กับในญี่ปุ่น อุณหภูมิที่แตกต่างในแต่ฤดูกาลมีผลอย่างมากกับเหยื่อของปลาในแต่ละท้องที่ บางฤดูกินกุ้งเซริกานิ บางฤดูกินปลาอายุ บางฤดูกินปลาซิว

       ทีนี้สโคปมุมมองให้แคบลงสำหรับหมายที่ปลาเหยื่อเป็นปลาซิว ผมเลือกข้อนี้เพราะว่าบ้านเราก็มีปลาซิว เผื่อนักตกปลาจะนำไปใช้ได้ โปรอาเบะชินโกะ บอกไว้ว่า “ในหมายที่ปลาแบสกินเหยื่อปลาซิว ขอแนะนำว่าให้ส่งเหยื่อจากระยะที่ห่างออกมา เพราะปลาซิวเป็นปลาที่ตกใจง่าย หากปลาเหยื่อหนี ปลาล่าเหยื่อก็จะตามปลาเหยื่อไป ส่วนลักษณะหมายที่เลือก ก็คือ หมายที่มีลักษณะเป็นขอบต่างระดับ ในด้านที่ตื้นกว่า จะเป็นที่รวมฝูงของปลาซิว ปลาล่าเหยื่อจะคอยอยู่ที่ส่วนที่ลึกกว่า
       เหยื่อยางที่แนะนำ ก็จะเป็นเหยื่อปลาหางเรียว ขนาดสัก 4 นิ้ว วิธีริกจะใช้ 2 แบบคือ ริกด้วยจิ๊กหัวบอล วิธีนี้ ให้โยนเหยื่อเลยไปทางส่วนลึกสักเล็กน้อย แล้วเมื่อเหยื่อถึงขอบต่างระดับ ให้เคาะเหยื่อที่แถวๆขอบนั้น ตะกอนที่ฟุ้งกระจาย จะทำให้ปลาซิวแตกตื่น และนั่นจะเป็นการสร้างจุดสนใจให้กับปลานักล่า
       ริกอีกแบบที่แนะนำก็คือ แคโรไลน่า ริก ขอให้ใช้ตะกั่วหนักสักหน่อย ส่วนลีดเดอร์ให้ใช้สายฟลูโอโรฯขนาด 8 ปอนด์ ยาว 1-2 เมตร เพื่อที่จะให้เหยื่อยางของเรา อยู่ห่างจากจุดตะกอนฟุ้งกระจายเหมือนกับปลาซิวที่แตกตื่น”
       นี่เป็นมุมมองของโปรญี่ปุ่นต่อวิธีการตกปลาแบส หวังว่านักตกปลาคงนำวิธีคิดนี้ไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้บ้าง
ฃอให้จินตนาการเพื่อการตกปลาบรรเจิด...

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การใช้เหยื่อแบบดร๊อปช๊อต ริกที่เราไม่ค่อยได้ใช้กัน

       าว์นช๊อตริก เป็นริกหนึ่งที่ได้รับความนิยมในหมู่โปรปลาแบสของญี่ปุ่นมาก เนื่องจากเป็นริกที่ใช้ง่าย เหมาะกับในตำแหน่งที่น้ำมีระดับลึก และได้ผลค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับริกแบบอื่นๆ
       วิธีการเข้าริกก็ขอให้ย้อนไปดูจากบทที่รวมแบบริกเอาไว้ ในบทนี้จะขอแนะนำเอาเคล็ดลับการใช้ดาว์นช๊อตของโปรอะโอกิไดสุเกะให้ไว้ศึกษาแนวทาง 
       “การใช้ดาว์นช๊อตริกในช่วงที่ปลามีความระแวดระวังสูง สิ่งหนึ่งที่ต้องใส่ใจก็คือ เราจะต้องไม่เคลื่อนที่เหยื่อรุนแรงจนเกินไป บางทีการที่เราเขย่าปลาคันเพียงเล็กน้อย แต่สำหรับปลาที่อยู่ในพื้นที่ก็อาจจะเห็นเหยื่อเราเคลื่อนที่อย่างรุนแรง แทนที่จะเป็นการเร่งเร้าให้กัด จะกลับกลายเป็นการไล่ให้ตื่นระแวงไปเสียก็ได้
       ในจังหวะแรกที่ตะกั่วของดาว์นช๊อตแตะพื้นท้องน้ำ ให้เราจับความรู้สึกของการสร้างแอ็คฌั่นให้เหยื่อด้วยสายเบ็ด ไม่ใช่ปลายคัน คือไม่ได้ปล่อยให้สายหย่อนเสียจนเหยื่อตกจม หรือไม่ได้รั้งปลายคันไว้ตึงเสียจนตะกั่วกระโดด ให้เขย่าสายด้วยความรู้สึกที่อยู่ตรงกลางระหว่างนี้


       ให้เลือกใช้เหยื่อที่มีแอคฌั่นที่พริ้วแบบพวกหางกรั๊บ หรือมีแรงสั่นสะเทือนแบบพวกหางแชด ก็จะให้ผลดีกับการใช้ดาว์นช๊อต” ทั้งหมดนั่นเป็นวิธีของโปรไดสุเกะ
       สำหรับตัวผมแล้ว เทคนิคนี้ ผมใช้กับหมายกระสูบนอนรัง เผื่อไว้ให้เป็นอีกทางเลือกนึงนอกจากสปูน
ฃอให้ได้โทรฟีกับการใช้ริกนี้